ขั้นตอน ส1-R1 (Research)

การผลิตน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม
1.เริ่มจากการเลือกงวงมะพร้าว ที่อยู่บนต้นมะพร้าวต้องเป็นงวงที่สมบรูณ์เพื่อที่จะนำมาทำนำตาลใสก่อนในขั้นตอนแรก
ที่มาของภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร


2.ปาดตรงปลายของงวงมะพร้าวที่เลือกไว้

ที่มาของภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร


3.โน้มงวงมะพร้าว โดยใช้เชือกมัดเพื่อให้งวงมะพร้าวผลิตน้ำใสไหลออกมาตามท่อของงวงที่เราโน้มไว้ได้สะดวก


ที่มาของภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร

4.นำกระป๋องมารองน้ำตาลใสที่ไหลออกมาจากงวงมะพร้าวที่เราได้ปาดเอาไว้

ที่มาของภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร

5.เมื่อเราได้น้ำตาลใสแล้วนั้น เราก็นำมากรองเอาขยะออก โดยใช้ผ้าขาวบางมากรอง จากนั้นนำน้ำตาลใสที่เรากรองเสร็จแล้วมาเคี่ยวไฟด้วยอุณหภูมิที่ร้องจัด ขณะที่เคี่ยวนั้นต้องเติมน้ำตาลทรายลงไปด้วย

ที่มาของภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร

6.เมื่อเคี่ยวน้ำตาลจะได้ที่แล้ว นำน้ำตาลมากรองเอาเศษผงออกอีกรอบจากนั้นการนำไปใส่เครื่องปั่น ปั่นจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

ที่มาของภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร

7.นำไปปั่นแล้วนำมาใส่ในภาชนะที่เราต้องการ

ที่มาของภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร

8.ปล่อยให้น้ำตาลเย็นลงแล้วนำออกจะภาชนะ แล้วนำไปบรรจุลงถุงหรือบรรจุภัณฑ์ี่ต้องการเพื่อนำไปจำหน่าย

ที่มาของภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยการมอง
(Product Visual Analysis)

ภาพที่1. ภาพแสดงโครงสร้างและส่วนประกอบทางกราฟิกของผลิตภัณฑ์สินค้า
น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ไผ่ริมแคว
ที่มาของภาพ : สกลรัฐ บุญเฉลียว,2555 เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2555เข้าถึงได้จากที่อยู่
https://lh5.googleusercontent.com/-CYZQxQx2O2o/UAZU55JEn0I/AAAAAAAAAHQ/2KoCoSqXjNo/s944/IMG_7246.JPG


ผลการวิเคราะห์
ก. โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบัน


หมายเลข1. คือ กล่องบรรจุภัณฑ์ แบบพลาสติก ทรงกระบอกมีฝาปิด
               1.1 กล่องพลาสติก ชนิด โพลิโอทิลีน แบบความหนาแน่นต่ำ
               1.2 รูปแบบกล่อง เป็นรูปทรง 4 เหลี่ยม ผืนผ้า
               1.3 ขนาดมิติ ความกว้าง 10 cm ความยาว 15 cm หนา 6-7 cm
               1.4 กล่องพลาสติก ราคา 4-5 บาท
               1.5 กล่องสามารถป้องกันอากาศเข้าได้ดี
               1.6 กล่องมีความคงทนแข็งแรง
หมายเลข2. คือ แคปซีล (Cap seal) ปิดกล่องพลาสติก
               2.1 เป็นแคปซีลชนิดหดตัว
               2.2 รูปแบบซีล แบบสีใส
               2.3 ขนาดของซีล 1 นิ้ว
               2.4 แคปซีล 100/แพ็ก ราคา 190 บาท
               2.5 ซีลชนิดนี้เป็นซีลที่ไม่มีแถบดึงเปิด
ข. กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
หมายเลข3. คือ สีและสติ๊กเกอร์แบรนด์
               3.1 เป็นสีเขียวขอบสีขาว
               3.2 รูปทรงของสติ๊กเกอร์เป็นรูปทรงวงรี
               3.3 ขนาดของสติ๊กเกอร์มีขนาด 4X6 cm
               3.4 แบบของสติ๊กเกอร์มีการจัดวางแน่นเกินไป
               3.5 ด้านซ้ายมีรูปลูกมะพร้าว
               3.6 ด้านขวามีรูปต้นมะพร้าว
หมายเลข4. คือ รูปต้นมะพร้าว
               4.1 สีเขียวขอบขาว
               4.2 เป็นต้นมะพร้าวน้ำหอม
               4.3 มองดูไม่ค่อยชัดเจน
               4.4 สีของต้นมะพร้าวกลืนกับสีพื้นหลังของสติ๊กเกอร์
หมายเลข5. คือ Font น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม
               5.1 มีสีขาวที่ตัดกับพื้นหลัง
               5.2 มีความโค้งที่รับกับสติ๊กเกอร์
               5.3 ติดกับประโยคอื่นเกินไป
               5.4 ประโยคมีความต่อเนื่อง 2 บรรทัด
               5.5 คำว่าน้ำติดกับขอบขาวมากเกินไป
               5.6 มีการแยกประโยคเป็น 2 บรรทัดจึงทำให้อ่านเข้าใจยาก
หมายเลข6. คือ Font แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์
               6.1 ตัวหนังสือมีความโค้งรับกับสติ๊กเกอร์ได้ดี
               6.2 ตัวหนังสือมีขนาดพอดี
               6.3 ตัวหนังสือ สีขาว
               6.4 ตัวหนังสืออยู่ด้านล่าง ตรงกลางพอดี
               6.5 แหล่งที่มาไม่ละเอียดสืบค้นได้ยาก
               6.6 วิสาหกิจขุมชน ต.ทุ่งทอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
หมายเลข7. คือ Font คุณแดง-เจ๊หนู
               7.1 มีขนาดพอดี
               7.2 สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
               7.3 มีลวดลายกราฟิกอยู่ใต้ชื่อ
               7.4 ตัวหนังสือสีขาว
หมายเลข8. คือ รูปมะพร้าว
               8.1 มีสีเขียวขอบขาว
               8.2 เป็นมะพร้าวน้ำหอม
               8.3 สังเกตุได้ยาก
               8.4 สีกลมกลืนกับพื้นหลังของสติ๊กเกอร์
หมายเลข9. คือ เลข 100%
               9.1 บ่งบอกว่ามะพร้าวน้ำหอมแท้ 100%
               9.2 ดึงดูดลูกค้าที่ต้องการน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมของแท้
               9.3 สื่อถึงผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ
หมายเลข10 คือ Font ไผ่ริมแคว
               10.1 เป็นชื่อของบริษัท ผลิตน้ำตาลมะพร้าว
               10.2 เป็นFont ธรรมดาที่ยังไม่ได้มีการออกแบบ
               10.3 ใช้ชื่อไผ่ริมแควที่เป็นชื่อบริษัทเป็นชื่อผลิตภัณฑ์
               10.4 อยู่ตรงกลางเพื่อให้สังเกตุได้ง่าย
               10.5 ตัวหนังสือ สีขาว
               10.6 ใช้ตัวหนังสือขนาดใหญ่
หมายเลข11 คือ Font เจ้าแรกในกาญจนบุรีและเบอร์โทรศัพท์
               11.1 สื่อให้เห็นว่าเป็นผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมที่แรกในกาญจนบุรี
               11.2 มีเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้ติดต่อได้ง่ายขึ้น
               11.3 ความว่าเจ้าแรกนั้นบ่งบอกว่ามีรสชาติที่ดั้งเดิม
               11.4 อยู่ใต้ชื่อยี่ห้อ
หมายเลข12 คือ เครื่องหมาย มผช เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
               12.1 เป็นเครื่องหมายของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
               12.2 ออกให้เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2552
               12.3 มีระยะการรับรอง 3 ปี
               12.4 เลข มผช ของน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมคือ 5/2546
               12.5 ตรา มผช ออกให้โดยกระทรวงอุตสาหกรรม
               12.6 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครบครุมเฉพาะน้ำตาลที่ผลิตจากจั่นมะพร้าวเท่านั้น

ปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ
บรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงความเป็นน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม
การออกแบบพัฒนา คือ บรรจุภัณฑ์และLOGO สินค้าให้สามารถบ่งบอกบอกถึงตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอมได้อย่างชัดเจน
ความต้องการของกลุ่มน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม คือ ให้สร้างบรรจุภัณฑ์และพัฒนาสินค้า น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% โดยใช้ชื่อเดิมหรือชื่อใหม่ก็ได้
1. ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
2. บรรจุภัณฑ์
3. วัสดุประกอบร่วม
4. กราฟิก
5. อาร์ตเวิร์ค
6.เอกสาร
7.วัสดุอื่น



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น