วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


Logoน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม ของ กาญจนบุรี ชื่อเดิม ไผ่ริมแคว เปลี่ยนเป็น ตาลน้ำหนึ่ง





แบบกล้องบรรจุภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าว ยี่ห้อ ตาลน้ำหนึ่ง


วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

       ตัว Sketch Up รูปกล้องบรรจุภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม


วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่3สอนการปรับแต่งกู้เกิ้ลบล็อกและการใช้ไฟล์ร่วมกันในกู้เกิ้ลไดฟ์

การปรับแต่งหน้ากู้เกิ้ลเว็บบล็อกเกอร์ สอนโดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
ความมุ่งมั่นในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การแบ่งปันความรู้และภูมิปัญญาของตนเองและของทุกคน คือหัวใจแห่งความสำเร็จของการทำงานและความก้าวหน้าขององค์กร
Everyone's commitment to share their knowledge, create new knowledge and wisdom is the key to success.



ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=5h0HLgvzdMk&feature=youtu.bePrachid Tutorials : Google Blogger theme Customisation. การปรับแต่งหน้ากู้เกิ้ลบล็อกเกอร์ สอนโดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

                                               
                                              ออกแบบ Font โดยการวาดมือ ลงบนกระดาษ


     
                                          
                                
                                 สแกนเรียบร้อยแล้ว นำมาเปิดด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator CS4


                                  
                                  เมื่อดราฟเส้นเรียบร้อยแล้วจากนั้น ทำการใส่สีให้แก่ตัวอักษร


ผลงานเสร็จสมบูรณ์




วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555



     แผนภูมิกระบวนการออกแบบ โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร






                 



     

ปฐมนิเทศ สัปดาห์แรกของการเรียน week1-1-2555
สัปดาห์แรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ภาคเรียนที่ 1/2555 คราวนี้มี 2 กลุ่ม เปิดจำนวนเต็มไว้แค่ 35 คนต่อกลุ่ม ปรากฏว่าล้นห้องต้องขยายเป็น 45 คนต่อกลุ่มลงทะเบียน และมีกลุ่ม ภาคนอกเวลาอีก 1 กลุ่ม ก็มีผู้เรียนร่วมร้อยกว่าคนที่แจ้งลงทะเบียนในระบบไว้ และแน่นอนครับเป็นการรวมรุ่นนับแต่รหัส 2550 เป็นต้นมา บางคนอาจารย์ก็คุ้นหน้ามากๆเลย แสดงว่าวิชานี้ฮอตมาก จนล้นไล่ให้ไปเรียนกับภาคนอกเวลา แต่ละกลุ่มก็เข้าเรียนประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มแรก 37/45 กลุ่มสอง 42/45 และนอกเวลาก็น้อยหน่อย แค่18/27 ตามตารางเรียนจันทร์-พุธที่ห้องคอมพิวเตอร์ 323-324 ของคณะมนุษย์ฯ

กิจกรรมในครั้งนี้ก็ตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม แต่จะเข้มขึ้นอีก เริ่มด้วย
1. การปรับพื้นฐานทักษะการบริหารจัดการความรู้ (Basic Information Management Skill) การสื่อสารส่วนบุคคลและการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นระบบเดียวกัน (Personal Communication Chanel and Social Network System Skill) โดยกำหนดเป็นข้อตกลงให้ทุกคนต้องฝึกฝนทักษะปฏิบัติการ การรับรู้และรับส่งข่าวสารด้วยการใช้งานเครื่องมือฟรีจากระบบออนไลน์(Cloud Management Tool)ที่ได้มาตรฐานสากลคือจากระบบบริการของ Google เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกมิติ
2. ให้ทำแบบสำรวจก่อนเรียน( เข้าทำ/ดูจากเมนูแบบสำรวจด้านบน) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 นี้
3. การให้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม(Workgroup) โดยให้แบ่งกลุ่มทำงานร่วมกัน

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ที่มาของโครงการ
ฟอนต์ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้รองรับภาษาไทย จนทำให้เกิดการใช้งานในทุกๆ ส่วนของสังคมอย่างทั่วถึง
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งในระบบเปิด (Open Source Software) และระบบปิด (Commercial Software) ล้วนต้องใช้ฟอนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนใหญ่ มักจะเป็นฟอนต์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows และระบบปฏิบัติการ Mac OSX ซึ่งเป็นฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ มีบางฟอนต์ที่ผู้พัฒนาอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ฟอนต์ที่พัฒนาโดยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และฟอนต์ที่พัฒนาจากโครงการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)
ในส่วนของนักพัฒนาฟอนต์เองก็มีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนโดยตรงในสถาบันการศึกษา นักพัฒนาฟอนต์เหล่านี้จึงต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เอาเองอย่างไร้การ สนับสนุนจากสังคมทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันจะนำไปสู่ปัญหาคุณภาพของฟอนต์ที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย
ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จึงคิดโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่” นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ๆ และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟอนต์ ให้มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาฟอนต์ภาษาไทยอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ โดยจัดครั้งแรกขึ้นในปี 2554 ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
1) วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านอักขระภาษาไทย เพื่อมีแบบตัวพิมพ์ไทยให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หลากหลาย อ่านได้ง่าย สวยงาม และเหมาะกับเนื้อหาของงาน
- ส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่ โดยการสร้างเวทีสำหรับการแข่งขันประชันผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
- ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สำหรับนักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย อันประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักศึกษา นักออกแบบ บริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ ผู้ใช้ เครือข่ายสื่อต่างๆ และทรัพยากรบุคคลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน
2) การดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยผ่านเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบกราฟิก และการใช้ฟอนต์
- นักออกแบบฟอนต์ จะส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ชนิด PDF โดยผ่านทางเว็บไซต์ที่ชมรมฯ เตรียมไว้สำหรับการรับผลงาน ซึ่งมีระบบคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาของผู้ออกแบบฟอนต์เป็นอย่างดี
- ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน
• ผลงานออกแบบฟอนต์ ไม่จำกัดประเภท ได้แก่ ตัวเนื้อความ, ตัวพาดหัว, ตัวแฟนซี ฯลฯ
• ผลงานให้เรียงเป็นข้อความสั้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด บนพื้นที่กระดาษขนาด A3
- คณะกรรมการคัดเลือก ทีึ่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำหน้าที่คัดเลือกผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 20 คน เพื่อรับโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ และผู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ เป็นเวลา 1 วัน
- เผยแพร่ผลงานและข้อมูลของผู้ออกแบบ ผ่านทางเว็บไซต์ของชมรมฯ และเครือข่ายพันธมิตร
3) กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวด 
- นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชา lettering design และ typography
- นักออกแบบกราฟิก และบุคคลทั่วไปที่สนใจการออกแบบตัวพิมพ์
4) แผนการดำเนินงาน
- 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2555
• ติดต่อประสานงานเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ fOnt.com, เครือข่ายใน facebook, ผู้เคยเข้าร่วมกิจกรรมประกวดแบบตัวพิมพ์ของชมรมฯ และของกรมทรัพย์สินทางปัญญา, บริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์, อาจารย์และสถาบันการศึกษาทีเปิดสอนวิชา lettering design และ typography, นิตยสาร iDesign, Computer Art ฯลฯ
• แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผลงาน
- 15 พ.ค. 2555 เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการ
- 15 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2555 รับผลงานผ่านทางเว็บไซต์ www.tepclub.org
-  1-3 ก.ค. 2555 คัดเลือกผลงาน
- 5 ก.ค. 2555 แจ้งผลการคัดเลือกถึงผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ผ่านเกณฑ์ (รวม 50 คน)
- 21 ก.ค. 2555 กิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ (80-100 คน) ประกอบด้วย การสัมมนาวิชาการ กิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายฟอนต์ และการมอบโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ
5) ตัวชี้วัด 
ด้านจำนวนผู้เข้าร่วมและจำนวนผลงาน
- มีผู้ส่งผลงานไม่น้อยกว่า 150 คน จำนวนผลงาน ไม่น้อยกว่า 200 ผลงาน
- มีผลงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ไม่น้อยกว่า 20 ผลงาน
ด้านเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย
- มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 สถาบัน
- ได้รับความสนับสนุนจากบริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์
- ได้รับความสนับสนุนจากสื่อต่างๆ เช่น fOnt.com และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
6) การสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์
6.1) กิจกรรมสัมมนาวิชาการ
- ความรู้เรื่องฟอนต์สำหรับสือใหม่ (เว็บไซต์, eBook)
- ประสบการณ์ในการออกแบบตัวอักษรไทย และละติน (Latin)
- ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสร้างฟอนต์
- การทำตลาดฟอนต์ (ในประเทศและต่างประเทศ)
- ความเห็นเรื่องฟอนต์จากฝั่งนักออกแบบกราฟิก (ผู้ใช้ฟอนต์)
6.2) กิจกรรมสร้างเครือข่าย
-  จับคู่นักออกแบบและบริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์
-  แนะนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ – fOnt.com และ facebook และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
-  สร้างการมีส่วนร่วมของ resource persons ในเครือข่ายฟอนต์ โดยการเป็นวิทยากร การเป็นพี่เลี้ยงให้นักออกแบบรุ่นใหม่